หลังจากการถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเข้าสู่ช่วงของ post-production ครับ การตัดต่อ, ทำ CGI, VFX ต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้นี่แหละ เรามาดูกันครับ ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
0%
Loading your experience
Loading your experience
หลังจากการถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเข้าสู่ช่วงของ post-production ครับ การตัดต่อ, ทำ CGI, VFX ต่างๆ ก็จะเกิดขึ้นในช่วงนี้นี่แหละ เรามาดูกันครับ ว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง
พูดง่ายๆ การ Editing ก็คือการตัดต่อนั่นแหละครับ เมื่อถ่ายทำเสร็จ ไฟล์ footage ก็จะส่งต่อให้กับทีมตัดต่อ(Editor) โดยทีมนี้ หน้าที่หลักๆก็คือต้องนำ footage ทั้งหมดมา “ตัด” และ ”ต่อ” เข้าด้วยกัน โดยคลิป Final ที่ได้นั้น จะต้องสื่อสารกับผู้กำกับ เพื่อเลือก Take ที่ดีที่สุดมาตัดให้สอดคล้องกับ Storyboard, Pre-vis, และ Script ครับ
ซึ่งในหลายๆเรื่อง มักจะไม่ตัดออกมาเป็น Final ไฟล์เดียว แต่จะตัดออกมาเป็น Final draft ประมาณ 2-3 version เพื่อเป็นตัวเลือกให้กับลูกค้าครับ
...
การ Grading หรือที่เรียกกันติดปากว่า “Color Grading” คือ การย้อมสีให้กับไฟล์ footage ของเราไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากการถ่ายทำนั้น ในซีนเดียวกัน อาจจะถ่ายกันคนละเวลาตาม Breakdown ทำให้สีของไฟล์ footage ต่างกันเล็กน้อย จึงทำให้เราต้องทำการ Grading สีให้กับวิดีโอของเรา รวมทั้งยังต้อง ปรับ Mood & Tone ของหนังใน Final look เพื่อให้สีออกมาตรงตาม Concept ที่ผู้กำกับต้องการสื่อด้วยครับ แบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน
ในขั้นตอนนี้ งานหลักๆก็คือการเกลี่ยสีให้กับ footage ครับ โดยทีม Editor เนี่ย จะตัดต่อบน Proxy(H.264) แต่ทีม Colorist จำเป็นต้องเกลี่ยโดยตรงจาก RAW footage ฉะนั้น ขั้นตอนนี้ ทีม Editor จึงจำเป็นต้องส่งต่อไฟล์ให้ทีม Grading ในรูปแบบของ EDL, XML เพื่อ Conform ไฟล์ของเราทั้ง clip, roll, และ speed เพื่อให้ทีม Grading เกลี่ยสีได้ตรงตามที่ตัดไว้ และส่งต่อไฟล์ graded ไปขั้นตอนต่อไปได้อย่างครบถ้วน
ขั้นตอนนี้จะเกิดหลัง Composite ครับ เป็นการย้อมสีให้กับหนังของเรา เพื่อคนดูเกิดอารมณ์ร่วมไปกับหนัง ซึ่ง mood & tone ที่ใช้ จะต้องสอดคล้องกับ message ที่ผู้กำกับต้องการจะสื่อ โดยขั้นนี้ จะเป็นขั้นที่ Director of photography, Director และ Colorist ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้ Look ของภาพตรงตามที่ DOP คิดไว้ครับ
เช่น โทนสีร้อนๆ ก็จะเหมาะกับหนัง Action ส่วนโทนสีน้ำเงินก็จะให้อารมณ์ของหนัง Drama
โดยขั้นตอนนี้ จะนำค่าของกล้อง เช่น focal length, ขนาดเซนเซอร์จาก Camera report มาใช้ในการคำนวณด้วยครับ เพื่อให้การ Track นั้น มีความถูกต้องและแม่นยำ
...
ในการถ่ายทำในบางครั้ง อาจจะมีอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในกองถ่ายติดเข้าไปอยู่ใน frame ด้วย เช่น safety equipment, camera ฯลฯ แน่นอนว่ามันเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการให้อยู่ในหนัง เราจึงจำเป็นจะต้องมีทีม preparation ในการลบสิ่งเหล่านี้ออกไป ก่อนที่จะส่งให้ทีม compositor ครับ
...
หลังจากที่ทีม Modeling ได้ทำ 3D model เสร็จแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนของการใส่ rig หรือใส่โครงกระดูกให้กับ model ของเรา เปรียบเหมือนการ setup ให้เราสามารถกำหนดการเคลื่อนไหว, Interact ท่าทางต่างๆ ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ
...
ในการถ่ายทำนั้น กล้องจะมีการเคลื่อนที่ และมุมมองของ frame จะเปลี่ยนไป เพื่อให้การ Composite เป็นไปอย่างถูกต้อง เราจำเป็นต้อง Tracking เพื่อทราบว่าวัตถุต่างๆในเฟรม และกล้องของเรา เคลื่อนที่อย่างใรใน 3D-space เพื่อที่เวลาเราใส่ CG ลงไป การเคลื่อนไหวและ Perspective ต่างๆมันจะได้ match ไปกับ footage ของเรา
โดยขั้นตอนนี้ จะนำค่าของกล้อง เช่น focal length, ขนาดเซนเซอร์จาก Camera report มาใช้ในการคำนวณด้วยครับ เพื่อให้การ Track นั้น มีความถูกต้องและแม่นยำ
...
Animation หลายคนคงคุ้นชินกับคำนี้เป็นอย่างดี กล่าวก็คือการสร้างการเคลื่อนใหวให้กับ model นั่นแหละครับ ไม่ว่าจะเป็นตัวละครต่างๆให้เคลื่อนไหวดูมีชิวิต หรือยานพาหนะต่างๆให้เคลื่อนไหวราบรื่นและสมจริง
โดย model ที่ใช้ ก็จะใช้โมเดลที่มีความละเอียดพอเหมาะ ไม่ได้ใช้โมเดลจริงๆทั้งหมดในการทำงาน เพราะงานหลักๆคือการกำหนดการเคลื่อนไหวและ overall ให้ดูสมจริง หากใช้โมเดลจริงๆที่มีความละเอียดสูงเกินไป อาจทำให้เครื่อง Workstation ของเราทำงานช้าได้ครับ อีกทั้งยังทำให้เสียเวลาในการ render อีกด้วย
...
VFX Simulation หรือการ effects พิเศษด้วยคอมพิวเตอร์ เช่น น้ำ, ไฟ, ตึกถล่ม เป็นต้น หากใครได้ติดตามบล็อกคงผม คงได้อ่านบทความเรื่อง โปรแกรม Houdini กันไปแล้ว
งานหลักๆของทีมนี้ก็คือการจำลอง Effects ด้วยคอมพิวเตอร์ครับ
อยากได้ Effects อะไรก็จำลองขึ้นมา
ด้วยกฎฟิสิกส์ตามธรรมชาติ(หรืออาจจำกำหนดเอง) เช่น จำลองไฟ ก็จะเรียกว่า PyroSim จำลองของแตกหัก ก็จะเรียกว่า Disintegration ครับ
ซึ่งในการจำลองนั้น เราจะนำ Model animated และค่า Tracking ต่างๆ มาใช้ในการคำนวณด้วย ตัวอย่างเช่นหนังเรื่อง Harry Potter เวลาร่ายคาถา, Particle ที่เราจำลองขึ้นมา จะต้องเคลื่อนไหวติดไปกับไม้กายสิทธิ์และ match move ไปกับเฟรมครับ เวลา render ออกมา ก็จะได้มุมมอง, ขนาด และการเคลื่อนไหวที่สมจริง และส่งต่อให้ทีม Compositor ทำการ Composite ต่อไป
...
ในขั้นตอนการ modeling นั้น เราจะได้ model ที่ที่ปั้นขึ้นมาเฉยๆ โดยไม่มีลวดลายบนพื้นผิว จึงทำให้เราต้องนำมาเข้าสู่อีกขั้นตอน นั่นก็คือการ Texturing พูดง่ายๆมันก็คือการวาดรูปลงบนพื้นผิวของ model ของเราครับ โดยจะมีรูปภาพที่เป็น Reference มาใช้ในการอ้างอิงการใส่ texture ให้กับ model
โดย resolution ของไฟล์ texture ที่จะต้องใช้นั้น ก็จะแตกต่างกันออกไป
หากใช้มุมกล้องระยะไกล (เช่น Extreme long shot) ก็ไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก แต่หากใช้มุมกล้องระยะใกล้ (เช่น Close up) ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ Texture ความละเอียดสูงครับ ซึ่งบางครั้งก็สูงถึง 8k เลยทีเดียว
...
คำนี้หลายๆคนอาจจะยังไม่คุ้นหู เพราะเราไม่ค่อยได้ใช้มันเท่าไหร่ LookDev คือขั้นตอนการนำ texture ที่ได้ มา mapping เข้ากับ model และใส่ shader ให้กับมัน
พูดง่ายๆ มันก็คือการสร้าง final look ให้กับ model ว่ามันจะออกมาในรูปแบบไหน เช่นการปรับ reflectivity, roughness ฯลฯ เพื่อให้ model ที่ได้นั้น ตรงตามความต้องการของ Director มากที่สุด
โดยขั้นตอนการ LookDev นั้น บางครั้งจะมีทีม R&D (Research and Development) ทำงานร่วมด้วย เพื่อหาข้อมูลและพัฒนา model ของเรา ให้ได้ final look ที่ตรงความต้องการที่สุด
...
ขนาดตอนถ่ายทำยังจัดแสง แล้วทำไม post-production จะไม่จัดละครับ? ซึ่งในขั้นตอนนี้ lighting artist จะนำค่าจาก LookDev และภาพ HDR Environment ที่ถ่ายไว้มาทำ shading และ lighting เพื่อให้เวลา render ออกมาแล้วตรงตาม footage ของเราที่สุด
และเมื่อเสร็จแล้ว ก็จะทำ render แบบแยก pass เช่น Alpha channel, Color, Diffuse ฯลฯเพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้งาน และส่งให้ทีม Compositor ต่อไป
...
ในบางครั้ง การทำ VFX ก็ไม่ได้ผลลัพท์ตามที่เราต้องการ หรืออาจจะด้วยเหตุผลการทำ VFX นั้นใช้เวลาหรือเสียงบประมาณ เราจึงจำเป็นต้องมีการถ่าย Effects ที่เป็น RAW footage จริงๆ เช่น ไฟ หรือฝุ่นควันต่างๆ ขึ้นมา ซึ่ง footage ที่ได้นั้น ก็จะมีความสมจริงกว่าการทำ CG ครับ
...
ในสมัยก่อนเนี่ย การสร้างวิวทิวทัศน์ไม่ได้สะดวกโดยใช้คอมพิวเตอร์เหมือนในปัจจุบัน การสร้างวิวต่างๆจึงต้องวาดขึ้นมาจริงๆ เราเรียกว่า matte painting ครับ และมันก็ติดปากมาจนถึงปัจจุบัน
ในการถ่ายทำนั้น บางครั้งอาจมีข้อจำกัดของสถานที่ด้วยเหตุงบประมาณหรือเวลาใดๆก็แล้วแต่ หรืออาจเพราะสถานที่ที่ถ่ายทำไม่สามารถถ่ายได้ตรงตามที่คิดไว้ในช่วง Pre-production ขั้นตอนนี้จึงเป็นหน้าที่ของคนทำ matte painting ครับ นั่นก็คือการวาดวิวใหม่ แทนวิวเดิมใน footage ที่ถ่ายมา
...
ในหลายๆครั้ง เมื่อเราวาง VFX หรือ model ลงในฉาก เราจะมี Foreground หรือวัตถุต่างๆที่อยู่ข้างหน้า ที่ไม่ต้องการให้ Effects เหล่านั้นมาทับ ขั้นตอนนี้(Rotoscoping) จึงเป็นการวาดกรอบให้กับ Foreground ของเรานั่นเองครับ โดยการ Roto นั้น จะวาดเส้นแบบ frame by frame เพื่อให้เกิดความแม่นยำ เวลาวาง CG Elements จะได้ไปอยู่ข้างหลัง ไม่ทับกับ FG ครับ
และในบางฉาก ที่ถ่ายมาเป็น Green หรือ Bluescreen หากทำการ Keying แล้วสำเร็จ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ Rotoscoping ครับ
...
ขั้นตอนนี้ ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายแล้วละครับ (แต่ก็ยังไม่ถ้ายสุด เพราะต้องส่งต่อไป Creative grade) Compositing เป็นขั้นตอนที่จะนำทุกๆอย่างมารวมเข้าด้วยกัน เพื่อจัดองค์ประกอบภาพ(Composition) ให้ได้ final shot ตามที่คิดไว้ โดยคนที่เป็น Compositor จะต้องเข้าใจองค์ประกอบศิลป์เป็นอย่างดี เมื่อทำ Composite เสร็จ ก็จะส่งต่อให้ VFX supervisor และ Director อนุมัติต่อไป
...
อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้ภาพ นั่นก็คือ “เสียง” ครับ ในการถ่ายทำนั้น ก็จะมีเสียงต่างๆมากมายในซีน เช่นเสียงเปิดประตู, เสียงเดิน, เสียงเปิดสวิตช์ เป็นต้น ซึ่งถ้าเรานำเสียงนี้จากไฟล์ footage เลยเนี่ย ก็จะมีความดังไม่มากพอ อีกทั้งยังไม่ชัดเจน ไม่ได้อรรถรสอีก เราจึงจำเป็นต้องสร้างเสียงเหล่านี้ขึ้นมาใหม่ โดยเสียงเหล่านี้จะถูกปรุงแต่งขึ้นในขั้นตอนหลังการถ่ายทำหรือ Post Production โดย โฟลีย์อาร์ตทิส (Foley Artist)
...
หนังทุกเรื่อง จะมีเพลงประกอบหนัง หรือที่เรียกว่า “Score” ซึ่งเป็น Sound ที่เพิ่มอรรถรสให้กับหนัง เช่นหนัง Action เพลงประกอบก็จะมีจังหวะที่มันส์, bpm ที่สูง เพื่อสร้างความตื่นเต้นให้กับคนดู ซึ่งเพลงประกอบเหล่านี้ ก็จะถูกออกแบบและสร้างโดย Composer ครับ ซึ่งในหลายๆเรื่องนั้น จะสร้างเพลงประกอบโดยการเล่นสด เรียกได้ว่ายกทั้งวง Orchestra มาเล่นกันเลยที่เดียว เพลงเประกอบหนัง เป็นอีกส่วนนึงที่สำคัญมากๆ หากไม่มีละก็ หนังก็จะเงียบและน่าเบื่อไปโดยทันที
ซึ่งในบางซีน อาจจะดูเหมือนจะเงียบ แต่จริงๆแล้วมันไม่เงียบซะทีเดียว เพราะมีเสียงที่เรียกว่า Ambient อยู่ครับ ซึ่งเสียงที่ว่านี้ มันก็เสียงบรรยากาศ ที่สร้างความรู้สึกให้กับคนดูในซีนนั้นๆ ซึ่งบางครั้ง มันก็ถูกบันทึกจากสถานที่จริง และบางครั้งมันก็ถูกสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ หรือที่เรียกว่าการ Synthesis
...
และเมื่อทุกอย่างเสร็จเรียบร้อย, creative grade เสร็จสิ้น ได้ Final look แล้ว ก็จะนำมารวมกับ Sound เพื่อให้ได้วิดีโอที่เสร็จสมบูรณ์ครับ เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทั้งหมด
และหากเพื่อนๆมีข้อคิดเห็น, คำถาม หรืออยากแลกเปลี่ยนใดๆ ก็คอมเม้นเข้ามาได้ครับ
Reference from Andrew-Whitehurst, Isaacbotkin, and Premiumbeat
Cinematic Art, Bangkok University. Experience: 3 years in Graphics Design, 4 years in VFX & Editor, 4 years in Web Developer, and 1 year in Artificial Intelligence